วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

แก้ว


ชื่อวิทยาศาสตร์: Murraya paniculata Jack.

วงศ์: RUTACEAE

ชื่ออื่นๆ: แก้วขาว (ภาคกลาง) แก้วพริก ตะไหลแก้ว (ภาคเหนือ) จ๊าพริก (ลำปาง) แก้วขี้ไก่ (ยะลา)

ลักษณะของพืช: แก้วเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลางลำต้นมีความสูงประมาณ5-10 เมตรเปลือกลำต้นสีขาวปนเทาลำต้นแตกเป็นสะเก็ดเป็นร่องตามยาวการแตกกิ่งก้านของทรงพุ่มไม่ค่อยเป็นระเบียบใบออกเป็นช่อเป็นแผงออกใบเรียงสลับกันช่อหนึ่งประกอบด้วยใบย่อยประมาณ 4-8 ใบใบเป็นมันสีเขียวเข้มขยี้ดูจะมีกลิ่นฉุนแรงขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อยขนาดของใบกว้างประมาณ 2 - 4 เซนติเมตร ยาวประมาณ3-6 เซนติเมตร  ออกดอกเป็นช่อใหญ่ช่อสั้นออกตามปลายกิ่งหรือยอดช่อหนึ่งมีดอกประมาณ 5 - 10 ดอก แต่ละดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ดอกสีขาว กลิ่นหอม ดอกบานเต็มที่กว้างประมาณ 2 - 3 เซนติเมตร ผลรูปไข่ รีปลายทู่ มีสีส้ม ภายในมีเมล็ด 1 - 2 เมล็ด

ส่วนที่ใช้เป็นยา: ใบสด
สรรพคุณและวิธีใช้ แก้อาการปวดฟัน ใช้ใบสดตำพอแหลกแช่เหล้าโรง ในอัตราส่วน 15 ใบย่อยหรือ 1 กรัมต่อเหล้าโรง 1 ช้อนชา หรือ 5 มิลลิลิตร เอาน้ำจิ้มบริเวณที่ปวด

วิธีการเพาะ/ขยายพันธุ์: ขยายพันธ์โดยการเพาะเมล็ดและการตอน สามารถแบ่งเป็น 2 วิธี
การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน คนไทยโบราณนิยมปลูกไว้เพื่อเป็นแนวรั้วบ้าน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก การปลูกแบบนี้สามารถปลูกเป็นกลุ่ม หรือเป็นแถวก็ได้และสามารถตัดแต่งบังคับทรงพุ่มได้ตามความต้องการของผู้ปลูก

การปลูกในกระถาง เพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 12 - 16 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วนอัตรา 1 : 1 ผสมดินปลูก และควรเปลี่ยนกระถาง 1 - 2 ปี/ ครั้ง หรือตามความเหมาะสมของการเจริญเติบโตของทรงพุ่ม เพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไปและเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินปลูกเดิมที่เสื่อมสภาพไป
ต้องการน้ำปริมาณปานกลาง ควรให้น้ำ 3 - 5 วัน / ครั้ง ชอบดินร่วนซุย หรือดินร่วนทราย ต้องการแสงแดดจัด ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักอัตรา   1 - 2 กิโลกรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง หรือใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ สูตร 15-15-15อัตรา 200- 300 กรัม/ต้น ใส่ปีละ 4 - 6 ครั้ง ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรคและแมลง เพราะเป็นไม้ที่มึความทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร 

การปลูกใช้กิ่งตอนที่มีราก พอควร เอาไปปลูกในกระถางหรือกระบะปลูกเพื่อให้ต้นพืชที่เกิดจากกิ่งตอนมีระบบรากแข็งแรง พอที่จะหาอาหารเลี้ยงลำต้นได้ แล้วนำไปปลูกในหลุมที่มีปุ๋ยรองพื้นบ้าง อาจจะเป็นปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก แล้วรดน้ำทุกเช้าในระยะปลูกใหม่ ๆ
การบำรุงรักษา ควรมีการตัดแต่งกิ่งก้านเสียบ้าง ต้นแก้วเป็นไม้ประดับที่มีทรงพุ่มสวยงาม ทนทานต่อสภาพแวดล้อมไม่ต้องบำรุงรักษามาก เพียงแต่รดน้ำเพียงครั้งคราว อย่าให้พืชขาดน้ำ

กล้วย


ชื่อสามัญ: กล้วย

ชื่อพฤษศาสตร์: Musa L. ( กล้วยประเภทรับประทาน )

วงศ์:  MUSACEAE

ชื่อพื้นเมือง: อังกฤษเรียก บานาน่า อินโดนีเซีย และมาเลเซียเรียก ปิซัง ( Pisang ) ฟิลิปปินส์เรียก ซาจิง ( Saging ) พม่าเรียก เง็กเปาตี ( Nget pyo thee ) เขมรเรียก ซิกนัมวา ( Cheek nam'vaa )

แหล่งกำเนิด: และการกระจาย กล้วยที่ปลูกกันอยู่ทุกวันนี้ ตามหลักฐานปรากฏว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีเอกสารกล่าวว่า คนแถบนี้ใช้ประโยชน์จากกล้วยกันมานานแล้ว แม้ว่าประวัติความเป็นมา ของกล้วยจะไม่แพร่หลายนัก แต่เป็นที่รู้กันว่า กล้วยเป็นผลไม้ชนิดแรกที่คนเอเชียแถบร้อนชื้น โดยเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปลูกใช้เป็นอาหารก่อนรู้จักการดื่มนม ทารกไทยส่วนใหญ่เติบโตมาด้วยกล้วยบด
แหล่งกำเนิดจริงๆ ของกล้วยยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่ ทฤษฎีของซิกมอนด์และเชเพิร์ด ที่ได้รับการยอมรับกันเป็นส่วนใหญ่เสนอว่า ดินแดนแถบอินโด-มาเลเซีย ถือเป็นศูนย์กลางความหลากหลาย ของกล้วยที่สำคัญที่สุด มาเลเซียจึงอาจเป็นศูนย์กลางของกล้วยในระยะแรกๆ ก็ได้ จากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การปลูกกล้วยขยายออกไปทั่วเขตร้อน และเข้าไปในเขตอบอุ่นของเอเชีย อเมริกา แอฟริกาและออสเตรเลีย อาจกล่าวได้ว่าประเทศทั้งหลายที่ตั้งอยู่ในเขตร้อน ฝนชุกโดยเฉพาะเอเชีย กล้วยเป็นผลไม้ที่ปลูกกันมาก บริโภคกันมากเป็นอันดับแรกของทุกประเทศ 
สำหรับความเป็นมาของกล้วยในประเทศไทย จากหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุด คือ จดหมายเหตุของลาลูแบร์ ที่เขียนขึ้นในรัชสมัยของสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จดหมายเหตุกล่าวถึงกล้วยงวงช้าง () และกล้วยงาช้าง น่าจะหมายถึง กล้วยยักษ์ และกล้วยร้อยหวี ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม เมื่อกล้วยมีกำเนิดอยู่ทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ดังที่กล่าวแล้วนั้น จึงย่อมเชื่อได้ว่ามีการปลูกกล้วยในเมืองไทยมานานก่อนสมัยอาณาจักรศรีวิชัย (พ.ศ.1200 โดยประมาณ) ส่วนในอินเดียได้รู้จักกล้วยกันมานานกว่าสามพันปีมาแล้ว โดยมีข้อความปรากฏตอนหนึ่งในมหากาพย์รามายณะกล่าวว่า “ เมื่อนางเกาสุริยาได้ฟังว่า พระรามมิได้มีการแต่งตั้งให้เป็นกษัตริย์แล้ว พระนางถึงกับล้มราวกับต้นกล้วยถูกฟันด้วยคมมีด ” ปัจจุบันพันธุ์กล้วยที่สำคัญของไทย ได้แก่ กล้วยน้ำว้า ปลูกกันมากที่สุดในจังหวัดเลย หนองคาย และระนอง ตามลำดับ รองลงมาได้แก่กล้วยไข่ ซึ่งปลูกกันมากที่สุดที่จังหวัดกำแพงเพชร ตาก และนครสวรรค์

กลีบดอกแยกออกเป็น 3-5 แฉก เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์มี 5 อัน ก้านเกสรตัวผู้ (filament) แข็ง อับเรณูรูปขอบขนาน มี 2 พู รังไข่ติดอยู่ได้ กลีบดอกมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวนมากติดรอยเชื่อมของแต่ละช่อง เกสรตัวเมียเป็นเส้นด้าย ยอดเกสรตัวเมียค่อนข้างกลม มี 6 พู ผลสดยาวเกนกว่า 10 ซม. รูปทรงกระบอก หรือเป็นสี่เหลี่ยมอยู่ติดกันคล้ายหวี เปลือกหนา 
ผล อ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีรสหวาน มีสีเหลือง เนื้อในสีขาวหรือขาวอมเหลือง รับประทานได้ เมล็ด ไม่มี หรือ มีแต่น้อย ค่อนข้างกลม ทั้งช่อดอกที่เจริญเป็นผลเรียกเครือ กล้วยในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาจากกล้วยป่า ซึ่งทำให้เกิดสายพันธุ์มากมายถึง 42 สายพันธุ์ แต่ที่คนไทยนิยมบริโภคได้แก่ กล้วยหอม กล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า กล้วยแบ่งออกตามส่วนที่นำมาใช้เป็น 2 กลุ่ม คือ กล้วยใช้ใบ เช่น กล้วยตานี กล้วยกินผล มีทั้งกล้วยมีเมล็ดและไม่มีเมล็ด มีทั้งสุกปอกกินได้เลย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และที่พอสุกต้องปิ้งหรือต้มให้สุก เช่น กล้วยหัวมุก [3]

  ใบ ใบ (lower epidermis) สีขาวนวล ขนาดใหญ่กว้าง 0.7-1.0 เมตร ปลายตัด ขอบเรียบ เส้นกลายใบ (midrib) แข็ง เส้นใบมีจำนวนมาก แยกออกจากเส้นกลางใบทั้งสองข้าง ขนานกันไปจดขอบใบ ก้านใบ ยาว 1-2 เมตร ด้านกลางกลม ด้านบนเป็นร่อง ส่วนนโคนแผ่ออกเป็นกาบ (sheath) 

  ดอก ดอก ออกเป็นช่อห้อยลง เรียกหัวปลี ยาว 30-150 ซม. ก้านดอกช่อ (peduncle) แข็ง ดอกย่อยแยกเป็นดอกเพศผู้ (staminate flower) และเพศเมีย (pistillate flower) ดอกเพศเมียมักอยู่ตอนล่างของช่อ ดอกย่อยเป็นกลุ่มๆ เป็นช่อดอกย่อย แต่ละกลุ่มรองรับด้วยใบประดับ (bract) ขนาดใหญ่สีม่วงแดง ซึ่งติดบนแกนกลางช่อ ดอกแบบเรียงเวียนสลับกัน ดอกย่อยมีขนาดใหญ่ รูปทรงกระบอก กลีบดอกแยกออกเป็น 3-5 แฉก เกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์มี 5 อัน ก้านเกสรตัวผู้ (filament) แข็ง อับเรณูรูปขอบขนาน มี 2 พู รังไข่ติดอยู่ได้ กลีบดอกมี 3 ช่อง แต่ละช่องมีไข่อ่อนจำนวนมากติดรอยเชื่อมของแต่ละช่อง เกสรตัวเมียเป็นเส้นด้าย ยอดเกสรตัวเมียค่อนข้างกลม มี 6 พู ผลสดยาวเกนกว่า 10 ซม. รูปทรงกระบอก หรือเป็นสี่เหลี่ยมอยู่ติดกันคล้ายหวี เปลือกหนา 

  ผล ผล อ่อนมีสีเขียว เมื่อสุกมีรสหวาน มีสีเหลือง เนื้อในสีขาวหรือขาวอมเหลือง รับประทานได้ เมล็ด ไม่มี หรือ มีแต่น้อย ค่อนข้างกลม ทั้งช่อดอกที่เจริญเป็นผลเรียกเครือ กล้วยในประเทศไทยมีวิวัฒนาการมาจากกล้วยป่า ซึ่งทำให้เกิดสายพันธุ์มากมายถึง 42 สายพันธุ์ แต่ที่คนไทยนิยมบริโภคได้แก่ กล้วยหอม กล้วยไข่ และกล้วยน้ำว้า กล้วยแบ่งออกตามส่วนที่นำมาใช้เป็น 2 กลุ่ม คือ กล้วยใช้ใบ เช่น กล้วยตานี กล้วยกินผล มีทั้งกล้วยมีเมล็ดและไม่มีเมล็ด มีทั้งสุกปอกกินได้เลย เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และที่พอสุกต้องปิ้งหรือต้มให้สุก เช่น กล้วยหัวมุก [3]

  สรรพคุณ / การใช้ประโยชน์ - ผลสุก รับประทานได้(ลั้วะ,ม้ง,กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน)
ผล ปลี หยวก รับประทานได้(เมี่ยน) 
หัวปลี ใช้ประกอบอาหาร เช่น แกง ยำ หรือรับประทานสด, ผลสุก รับประทานได้(คนเมือง)
- ใบ สับตากแห้งใช้เข้ายาห่มตำรับไทลื้อ บำรุงร่างกายและผิวพรรณ(ไทลื้อ)
- ผลสุก ประกอบพิธีกรรม(คนเมือง) 
- ใบ ใช้ห่ออาหารหรือขนม(คนเมือง)
ลำต้น(หยวก) ใช้เป็นอาหารเลี้ยงหมู(กะเหรี่ยงแม่ฮ่องสอน,เมี่ยน)
- เปลือกผล แก้ริดสีดวง
ผลกล้วยสุก แก้โรคท้องผูก ความดันโลหิตสูง คอเจ็บ บำรุงผิว รักษาอาการไม่ย่อย ท้องอืดมีกรดมาก สมานแผล แก้บิดมูกเลือด
ผลกล้วยดิบ แก้โรคท้องเสีย รักษาโรคกระเพาะอาหาร
ต้นและใบแห้ง นำมาเผากินครั้งละ ½-1 ช้อนชา หลังอาหาร แก้เคล็ดขัดยอก ใบอ่อนอังไฟจนนิ่ม ใบกล้วยแก่ปิดรักษาตาอักเสบ
ใบกล้วย แก้ท้องเสีย ห้ามเลือด แก้บิด แก้ผื่นคันตามผิวหนัง 
ต้นกล้วย ทากันผมร่วงและกระตุ้นให้ผมงอก
หัวปลี บำรุงน้ำนม ยางจากปลีกล้วยหรือกาบกล้วย รักษาแผลสด และทาแก้แมลงสัตว์กัดต่อยได้
รากกล้วย แก้ปวดฟัน แก้ร้อนใน แก้ท้องเสีย โลหิตจาง ปวดหัว ปัสสาวะขัด แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก แก้ไข้รากสาด ขับน้ำเหลืองเสีย
ดอกกล้วย แก้โรคเบาหวาน ประจำเดือนขัด แก้ปวดประจำเดือน แก้โรคหัวใจ
เปลือกกล้วย แก้ปวดท้องประจำ แก้ผิวหนังเป็นตุ่ม และคันเป็นผื่น แก้ฝ่ามือฝ่าเท้าแตก
เหง้ากล้วยแห้ง ตำป่นทาท้องน้อยคนคลอดบุตรทำให้รกลอกภายหลังคลอดบุตร
ยางกล้วย ใช้ห้ามเลือด [3]

มะม่วง


ชื่อสามัญ : Mango, Mango tree
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Manaifera indica Linn.
ชื่ออื่นๆ : มะม่วงบ้าน  มะม่วงสวน  หมักโม่ง  หมากม่วง  ลูกม่วง
วงศ์ : Anacardiaceae
ถิ่นกำเนิด : เอเชียเขตร้อน


ลักษณะทั่วไป: มะม่วงเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงประมาณ 10–30 เมตร ใบ ใบเดี่ยวสีเขียว ขอบใบเรียบ ฐานใบมน ปลาย ใบแหลม ดอก เป็นช่อ กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรสีแดงเรื่อๆ ดอกออกช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ช่วงฤดูร้อนจะติด ผล ผล ยาวประมาณ 5–20 ซม. กว้าง 4–8 ซม. ลูกดิบสีเขียว เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลือง หรือเหลืองส้ม มีเมล็ดภายใน 1 เมล็ด

การปลูก

มะม่วงควรปลูกในหน้าฝนเจริญเติบโตได้ดีในดินอุดมสมบูรณ์ปลูกกลางแจ้ง การขยายพันธุ์ทำได้โดยการเพาะเมล็ดและการตอนกิ่ง


สรรพคุณทางยา

  • ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ
  • ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ
  • ใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้
  • เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน
  • เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน

คติความเชื่อ: มะม่วงเป็นต้นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คนโบราณเชื่อว่าหากนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านทางทิศใต้ (ทักษิณ) จะทำให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยมีความร่ำรวยยิ่งขึ้น


พันธุ์: มะม่วงในประเทศไทยมีมากหลายพันธุ์ สามารถแบ่งตามลักษณะการนำมาบริโภคได้ 3 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้

1. มะม่วงสำหรับรับประทานผลดิบ  เช่น  น้ำดอกไม้มัน  พิมเสนมัน  แรด  เขียวเสวย  หนองแซง  ฟ้าลั่น มันหวานปากช่อง เบาสงขลา เป็นต้น

2. มะม่วงสำหรับรับประทานผลสุก  เช่น  อกร่อง  อกร่องพิกุลทอง  น้ำดอกไม้  หนังกลางวัน  ทองดำ เป็นต้น

3. มะม่วงที่ปลูกเพื่อการอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้
- มะม่วงสำหรับดอง เช่น แก้ว โชคอนันต์ เป็นต้น
- มะม่วงสำหรับบรรจุกระป๋อง ทำน้ำคั้น แช่อิ่ม เช่น มะม่วงสามปี มหาชนก เป็นต้น

พันธุ์ต่างๆ ที่มีในฝ่ายปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง สถาบันวิจัยและพัฒนา กำแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน จ. นครปฐม

พันธุ์เทพนิมิตร: เป็นมะม่วงกินดิบ มีรสเปรี้ยวจัด ผลทรงรี อกและแก้มกลมโต ผลมีขนาดใหญ่ ความยาวมากกว่า 15 ซม. เนื้อผลมาก เมล็ดลีบบาง

พันธุ์น้ำดอกไม้มัน: เป็นมะม่วงกินดิบ มีรสมันหวานอมเปรี้ยวเล็กน้อย ผลทรงรีแกมหอก หลังและอกโค้งรับกันคล้ายรูปเขี้ยวสัตว์ ก้นผลแหลมงอเข้าหาอกเล็กน้อย ผลมีขนาดใหญ่ ความยาวมากกว่า 15 ซม. เนื้อผลมาก เมล็ดลีบบาง

พันธุ์มันศาลายา: เป็นมะม่วงกินดิบ มีรสมันหวานจืด ผลทรงรีแกมหอก หลังและอกโค้งรับกันคล้ายรูปเขี้ยวสัตว์ ผลมีขนาดกลาง ความยาวประมาณ 15 ซม. เนื้อผลมาก เมล็ดลีบขนาดกลาง

พันธุ์เบาสงขลา: เป็นมะม่วงกินดิบ มีรสเปรี้ยว ออกดอกก่อนพันธุ์ทั่วไป ผลทรงกลมแกมรี หลังและอกโค้งเกือบเป็นครึ่งทรงกลมรับก้นโค้งแหลมเล็กน้อย ผลมีขนาดเล็ก ความยาวประมาณ 7 ซม. เนื้อผลน้อย (แต่มากกว่ามะม่วงกะล่อน) เมล็ดกลมรีขนาดใหญ่ ยาวประมาณ 4 - 5 ซม. มีการติดผลจำนวนมากต่อหนึ่งช่อดอก และติดผลดกมาก

พันธุ์ทองดำ: เป็นมะม่วงกินสุก มีรสหวานแหลม แต่เนื้อผลมีเส้นใยมากและมีกลิ่นขี้ใต้

การปลูก: สามารถปลูกด้วย กิ่งตอน กิ่งทาบ การเพาะเมล็ด หรือการเปลี่ยนยอด

การปลูกด้วยกิ่งตอน: ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะเดิม หรือให้เหลือจุกมะพร้าวที่ใช้ในการตอนสูงกว่าระดับดินเล็กน้อย ไม่ควรกลบดินจนมิดจุกมะพร้าว เพราะจะทำให้เน่าได้ง่าย

การปลูกด้วยกิ่งทาบ: กิ่งติดตา ให้ปลูกลึกระดับเดียวกับดินในภาชนะปลูกเดิม หรือสูงกว่าเดิมเล็กน้อย แต่ต้องไม่มิดรอยที่ติดตาหรือต่อกิ่งไว้ เพื่อจะได้เห็นว่ากิ่งที่แตกออกมานั้นแตกออกมาจากกิ่งพันธุ์หรือจาก

การปลูกโดยการเพาะเมล็ด:  โดยการนำเมล็ดมาตัดส่วนปลายออกเล็กน้อย นำไปกดลงในหลุมปลูกให้ลึกประมาณ 3 ส่วนของเมล็ด โดยให้ส่วนโค้งอยู่ด้านบน นำฟางข้าวหรือเศษหญ้าแห้งกลบให้ทั่วหลุมปลูก ลดน้ำให้ชุ่มอยู่เสมอ วิธีนี้อาจได้พันธุ์มะม่วงใหม่ๆ

การปลูกโดยการเปลี่ยนยอด: ทำเหมือนกับการเพาะเมล็ด เมื่อต้นโตมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นที่ระดับความสูง 30 ซม. ประมาณ 1 - 2 ซม. นำยอดพันธุ์ที่ต้องการไปเปลี่ยนโดยวิธีเสียบข้าง ในระยะนี้ควรทำที่บังแดดให้กับกิ่งพันธุ์ที่เปลี่ยนไว้ด้วย เมื่อกิ่งพันธุ์ที่ต้องการติดดีแล้วให้ตัดยอดของต้นตอทิ้ง วิธีนี้มักจะได้ต้นมะม่วงที่มีความสูงระดับเดียวกันทั้งสวน

วิธีการปลูก: ควรปลูกช่วงต้นฤดูฝน หรือประมาณเดือนพฤษภาคม ถึง กรกฎาคม เพื่อให้มะม่วงตั้งตัวได้เร็วขึ้น เนื่องจากอากาศและดินมีความชุ่มชื้นดี และเป็นการสะดวกที่ไม่ต้องรดน้ำในระยะแรก

หลุมปลูกควรขุดให้มีขนาดความกว้าง ยาว และลึก ไม่น้อยกว่า 30x30x30 ซม. หากดินในพื้นที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์มากด้วยแล้วต้องขุดหลุมปลูกให้มีขนาดใหญ่ และนำดินที่อุดมสมบูรณ์มาใส่เพื่อให้มะม่วงในระยะแรกเจริญเติบโตได้ดี

ระยะปลูกระหว่างแถวและระหว่างต้น ขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ปลูกว่าต้องการเช่นไร ในที่นี้ขอแนะนำในระยะ 6x6 ม.

การปลูก ควรมีหลักไม้ปักกับดินแล้วผูกต้นเพื่อไม่ให้ลมโยกและทำที่บังแสงแดดให้ใน ระยะแรก รดน้ำให้มีความชุ่มชื้นอยู่เสมอ ในปีแรกหากมะม่วงติดดอกให้ตัดออกเพื่อให้มะม่วงเจริญเติบโตทางทรงต้นให้สมบูรณ์ดีเสียก่อน
การติดดอกและผล :
โดยทั่วไปมะม่วงจะออกดอกติดผลในช่วงเดือน พฤศจิกายน ถึง ธันวาคม และเก็บเกี่ยวในเดือน มีนาคม ถึง เมษายน (ยกเว้นพวกมะม่วงทะวาย)

กระดังงา


ชื่อวิทยาศาสตร์ Cananga Odroata  

ชื่อวงศ์ ANNONACEAE 

ชื่อสามัญ Cananga 

ชื่ออื่นๆ กระดังงาไทย, กระดังงาใหญ่, กระดังงาใบใหญ่, สะบันงา 

ถิ่นกำเนิด ประเทศฟิลิปปินส์, ประเทศอินโดนีเซีย 

การขยายพันธุ์ต้นกระดังงา:สามารถขยายพันธุ์ได้โดย การตอนกิ่ง และการเพาะเมล็ด โดยการตอนกิ่งเป็นวิธีที่ทำง่าย แต่อาจมีปัญหากิ่งเปราะบาง หักง่าย จึงสามารถใช้การเพาะเมล็ดแทนได้
ประวัติและข้อมูลทั่วไป 
            
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์: เป็นพรรณไม้ขนาดกลางถึงใหญ่สูงประมาณ 15-25 เมตร เป็นพรรณไม้พุ่มแน่น โคนต้นมีปุ่มป่ำเล็กน้อย ใบเป็นใบเดี่ยวขึ้นหนาทึบสลับกันไปตามกิ่ง ขอบใบเรียบและมนรี ปลายใบแหลม ยาวประมาณ 6-7 นิ้ว ดอกมีสีเหลืองกลิ่นหอมกว่ากระดังงาสงขลา กลีบดอกเรียวยาวประมาณ 4 นิ้ว มีอยู่ 6 กลีบและมี 2 ชั้น ชั้นละ 3 กลีบ เหมือนกระดังงาสงขลา แต่กลีบจะม้วนบิดไปมา 

การปลูกและดูแลรักษา: กระดังงาไทยเป็นไม้กลางแจ้งต้องการแสงแดดจัด ออกดอกตลอดปี ดินที่ปลูกควรเป็นดินร่วนและมีความอุดมสมบูรณ์เพียงพอ 

 ประโยชน์ของต้นกระดังงา: มีความเชื่อว่า ต้นกระดังงา เป็นต้นไม้มงคลที่จะช่วยเสริมให้ผู้ปลูกเป็นคนมีชื่อเสียงโด่งดัง มีเงินทอง ลาภยศ อีกทั้งยังมีผู้คนนับหน้าถือตา หากจะให้ดียิ่งขึ้นควรเลือกปลูกในทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อเพิ่มความเป็นสิริมงคลกับตัวบ้านและผู้อยู่อาศัยในบ้านด้วย

นอกจากนี้ส่วนต่าง ๆ ของกระดังงา ยังสามารถนำไปทำประโยชน์ได้ด้วย เช่น เปลือก ใช้นำไปทำเชือก, ใบและเนื้อ ใช้ต้มกินเป็นยาขับปัสสาวะ, ดอก กลั่นเป็นน้ำหอม หรือเป็นส่วนผสมของยาหอมเพื่อแก้วิงเวียน และนำดอกไปทอดกับน้ำมันมะพร้าวเพื่อทำน้ำมันใส่ผม หรือนำมาลนไฟใช้อบขนมเพื่อเพิ่มกลิ่นหอมก็ได้

 วิธีการปลูกต้นกระดังงา: ต้นกระดังงานิยมปลูกไว้บริเวณริมรั้ว เพราะกระดังงาเป็นไม้เลื้อยที่ต้องการซุ้มหรือคานเพื่อเลื้อยเกาะ นิยมปลูกด้วยการใช้เมล็ดหรือตอนกิ่ง จากนั้นใส่ในหลุมปลูกขนาด 50x50x50 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกผสมดินร่วน อัตราส่วน 1 : 2 ผสมดินปลูก ชอบแดดจัด หากปลูกในร่มจะมีใบและลำต้นสวยงามกว่ากลางแดด แต่อาจไม่ออกดอก

 การดูแลรักษาต้นกระดังงา:

ดิน : ชอบดินร่วนซุย

ปุ๋ย : ใช้ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก อัตราส่วน 1 : 2 กิโลกรัม / ต้น ควรใส่ปุ๋ยปีละ 4-6 ครั้ง

น้ำ : ชอบน้ำปานกลาง ควรให้น้ำประมาณ 5-7 วันต่อครั้ง

แสง : ชอบแสงแดดจัด ควรปลูกกลางแจ้ง

ไผ่


ชื่อไทย ไผ่ 
ชื่อวิทยาศาสตร์ Bambusa sp.
ชื่อสามัญ ไผ่ Bamboo 
ตระกูล GRAMINEAE 

มงคลเเละเคล็ดปฏิบัติ: มงคลจะสังเกตได้ว่า มีบ้านเรือนจำนวนไม่น้อยเลย ที่นิยมปลูกต้นไม้ไผ่เอาไว้ภายในบริเวณบ้าน ไม่ว่าจะเป็น ไผ่เหลืองทอง ไผ่สีสุก ไผ่เตี้ย หรือไผ่น้ำเต้า การที่คนไทยนิยมปลูกต้นไผ่นั้น มีความเชื่อมาตั้งแต่สมัยโบราณแล้วว่า หากปลูกต้นไผ่เอาไว้ภายในบริเวณบ้าน ก็จะช่วยให้ สมาชิกทุกคนภายในบ้านนั้น เป็นคนที่ไม่คดโกง หรือเอารัดเอาเปรียบใคร ไม่ว่าจะประกอบอาชีพอะไร ก็จะตั้งใจทำ ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และมีคุณธรรม ซึ่งความเชื่อเหล่านั้น ก็มีพื้นฐานมาจากลักษณะของต้นไผ่นั่นเอง ต้นไผ่นั้นจะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว แตกกิ่งก้านสาขาที่เหยียดตรง และเรียบเนียน ส่วนด้านในของปล้องไผ่แต่ละปล้อง ก็จะมีแต่เนื้อไม้สีขาวบริสุทธิ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คนโบราณเชื่อว่าไผ่สีสุกนั้น จะช่วยส่งผลให้สมาชิกทุกคนในบ้านนั้น ประสพแต่ความสำเร็จ ร่ำรวยเงินทอง มีความสุขกันถ้วนหน้า เพราะชื่อของไผ่ชนิดนี้ คล้องจองกับคำว่า “มั่งมีศรีสุข” จึงช่วยให้เกิดความสุขความเจริญ แก่ผู้ปลูกกันทั่วทุกคนชาวจีนก็เชื่อกันว่า ไผ่จะเสริมมงคลให้คนในบ้าน เป็นคนมุ่งมั่นตั้งใจจริง มีปัญญาเลิศมีเหตุผล ชื่อตรง เอื้ออารี และกตัญญูรู้คุณ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ 

ไผ่เป็นพันธุ์ไม้ยืนต้น ลำต้นแตกเป็นกอเป็นไม้พุ่มเล็กถึงขนาดใหญ่ กอหนึ่งมีประมาณ20-25ต้นพอ ลำต้นมีความสูงประมาณ5-15เมตร ลักษณะลำต้นเป็นข้อปล้อง ผิวเกลี้ยงแข็งมีสีเขียวหรือเหลืองแถบเขียว ขนาดสีขึ้นอยู่กับพันธุ์และชนิด ใบเป็นใบเดี่ยว กว้างประมาณ1-2นิ้ว ยาวประมาณ5-12นิ้ว ออกดอกเป็นช่อตามปลายยอดเมื่อไผ่ออกดอก ไผ่จะตายไปชาวบ้านทั่วไปเรียกไผ่ตายขุย คือตายทั้งตระกูล ผลหรือลูก คล้ายเมล็ดข้าวสาร

ถิ่นกำเนิด:ไผ่ มีถิ่นกำเนิดและการกระจายพันธุ์อย่างกว้างขวางเกือบทุกส่วนของโลก จัดอยู่ใน

ตระกูลหญ้า (Gramineae) และเป็นตระกูลหญ้าที่มีลำต้นสูงที่สุดในโลก เจริญเติบโตได้ดีทุกทวีป แต่พบมากที่สุดทางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนในเขตอบอุ่นก็พบไผ่อยู่บ้างแต่มีสกุลน้อยกว่าเขตร้อน

การแบ่งประเภทของไผ่ได้เป็น 3กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้คือ

      1.พันธุ์ไผ่ที่ใช้ประโยชน์ในการ อุปโภค-บริโภค

      2.พันธุ์ไผ่ที่หลากหลายสี เช่น ดำ เหลือง ทอง แดง ม่วง ชมพู

      3.พันธุ์ไผ่ที่สวยงามแปลกตา เช่นไผ่น้ำเต้า น้ำเต้าลาย-ทอง

การจำแนกสายพันธุ์ไผ่ที่พบในเมืองไทย

          1.สกุลอะรันดินาเรีย มีอยู่2ชนิดคือ ไผ่โจด และไผ่เพ็ก (หญ้าเพ็ก)

ไผ่โจด พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลำต้นมีสีเขียวอมเทามีความสูงประมาณ5เมตร ปล้องค่อนข้างสั้น 10-20 ซม. มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ7-10 มม. ไม่มีหนามหน่อมีสีเทาแกมเหลือง ลำต้นใช้ทำด้ามไม้กวาด จุดเด่นคือเหง้ามีลักษณะเด่นแปลกตา จึงนิยมมาทำเครื่องประดับภายในบ้าน อาจปลูกเป็นแนวรั้ว

และปลูกเป็นไผ่ประดับในบริเวณบ้าน หน่อใช้รับประทานได้

           ไผ่เพ็กหรือหญ้าเพ็ก ไผ่ชนิดนี้พบได้ในไทย เวียดนามและกัมพูชา ส่วนในประเทศไทยพบมากทางอีสาน เจริญได้ดีในเขตแห้งแล้ง จึงเกิดไฟไหม้ป่าไผ่ชนิดนี้อยู่เป็นประจำ ลำต้นสูงไม่เกิน3เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-7 มม.ขนาดของปล้องมีความยาว20-30 ซม. ขึ้นรวมเป็นกอ นิยมเอามาทำแผงตากสาหร่ายทะเล

       2.สกุลแบมบูซ่า แบ่งออกได้ 11ชนิด คือ ไผ่บง ไผ่ป่า(ไผ่หนาม) ไผ่ลำมะลอก ไผ่เหลือง(ไผ่จีน) ไผ่หอบ(ไผ่หอม) ไผ่เลี้ยง ไผ่สีสุก ไผ่บงหวาน ไผ่คันร่ม(ไผ่เปร็ง) ไผ่ดำ(ไผ่ตาดำ) และไผ่น้ำเต้า

           ไผ่บง พบได้ทั่วไปตามป่าดงดิบ เป็นไผ่ขนาดใหญ่ เส้นผ่าศูนย์กลางของปล้อง6-10ซม. ความยาวปล้อง 20-30ซม. สูงประมาณ9-12เมตร ลำต้นนิยมใช้ทำเสื่อลำแพนและเยื่อกระดาษหน่ออ่อนนิยมมารับประทาน แม้จะมีรสขมอยู่บ้าง

ไผ่ป่า หรือไผ่หนาม พบได้ทุกภูมิภาคของประเทศ ต้นอ่อนมีสีเขียวเข้ม เมื่อแก่จัดมีสีเขียวอมเหลือง เป็นไผ่ขนาดใหญ่ มีหนามคมและขนมาก เส้นผ่าศูนย์กลางของปล้อง 10-15 เซนติเมตร ลำต้นใช้ทำนั่งร้านในการก่อสร้างหรือทาสีอาคาร และทำเครื่องจักสานอื่น หน่อใช้รับประทานได้

ไผ่ลำมะลอก พบได้ในทุกภูมิภาคของประเทศ แต่ในภาคใต้จะพบน้อยกว่าภาคอื่น ลำต้นมีสีเขียวเข้ม ไม่มีหนาม ข้อเรียบ กิ่งก้านและใบเกิดที่บริเวณลำต้น สูงจากพื้นดิน 6-7 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตร สูงเฉลี่ย 10-15 เมตร ลำต้นค่อนข้างไม่อัดแน่น นิยมนำมาใช้ทำนั่งร้านในการก่อสร้าง ทำเสาโป๊ะ เฟอร์นิเจอร์ และงานจักสารที่ไม่ต้องการความประณีต หน่อใช้รับประทานได้

ไผ่เหลือง หรือ ไผ่จีน ไผ่ชนิดนี้สันนิษฐานว่านำเข้าจากประเทศจีน จึงไม่พบทั่วไป ลำต้นมีสีเหลือง มีลายเส้นเป็นแถบสีเขียว พากตามความยาวของปล้อง ผิวเกลี้ยง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 5-10 เซนติเมตร ความยาวปล้องประมาณ 20-25 เซนติเมตร ความสูงเฉลี่ย 10-15 เมตร หน่อมีสีเหลืองอ่อน นิยมนำมาปลูกเป็นไม้ประดับ เนื่องจากลำต้นมีสีสวยงาม หน่อใช้บริโภคได้แต่ไม่เป็นที่นิยม

ไผ่หอบ หรือ ไผ่หอม พบมากที่จังหวัดเชียงราย ลำต้นสูงประมาณ 10 เมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลางของปล้อง 7.5-15 เซนติเมตร และยาว 40 เซนติเมตร ใบมีขน เมื่อสัมผัสผิวหนังจะรู้สึกระคายเคืองและคัน ลำต้นใช้ประโยชน์ได้น้อย หน่อมีรสขม จึงไม่มีการนำมารับประทาน

ไผ่เลี้ยง พบมากในภาคกลาง ลำต้นมีสีเขียวสด เป็นไผ่ขนาดเล็ก ปล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2-3 เซนติเมตร และยาว 20-25 เซนติเมตร ลำต้นไม่มีหนาม นิยมใช้ทำคันเบ็ดและส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ ลำต้นแข็งแรง เนื้อต้นเกือบไม่มีช่องว่างภายใน บางแห่งนิยมปลูกเป็นไม้ประดับ หน่อรับประทานได้ แต่ไม่นิยมรับประทาน

ไผ่สีสุก พบได้ทั่วไป แต่พบมากในบริเวณภาคกลางของประเทศ เป็นไผ่ชนิดที่สูงใหญ่ ลำต้นสีเขียวสด หน่อสีเทาอมเขียว ปล้องมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 7-10 เซนติเมตร ยาว 10-30 เซนติเมตร บริเวณข้อมีกิ่งคล้ายหนามหน่อมีขนาดใหญ่ มีขนสีน้ำตาล น้ำหนักหน่อประมาณ 3-4   กิโลกรัม ไผ่ชนิดนี้มีเนื้อหนาแข็งแรง ทนทานและเหนียว จึงนิยมนำไปใช้ประโยชน์มากกว่าไผ่ชนิดอื่นๆ ไม่ว่าจะทำเครื่องจักสาร เฟอร์นิเจอร์ นั่งร้านในการก่อสร้าง และนอกจากนี้ส่วนโคนของลำต้นยังนิยมใช้ทำไม้คานสำหรับหาบหามได้ดีมาก

            ไผ่บงหวาน พบได้ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และพบมากที่สุดที่จังหวัดเลย ลำต้นอ่อนมีสีเขียวใบไม้ เมื่อแก่มีสีเขียวเข้ม เส้นผ่าศูนย์กลางของปล้อง 5-8 เซนติเมตร สูง 5-10 เมตร มีหน่อสีเขียว น้ำหนักประมาณครึ่งกิโลกรัม ลำต้นนิยมนำมาทำดอกมัดสิ่งของ ทำไม้ค้ำยัน บันไดและเครื่องจักสาน หน่อมีรสหวานหอมอร่อย นิยมนำมาประกอบอาหารได้หลากชนิด

            ไผ่คันร่ม หรือ ไผ่เปร็ง พบมากที่จังหวัดปราจีนบุรี ตราด และระยอง ลำต้นอ่อนมีสีเขียวใบไม้ เมื่อแก่จัดสีเขียวเข้ม เส้นผ่าศูนย์กลางของปล้อง 3-5 เซนติเมตร ต้นสูง 8-10 เมตร หน่อมีสีเขียวอมเทา แต่เลือกหน่อจะมีสีแดง ลำต้นมีเนื้อหนา จึงนิยมนำมาทำบันไดโป๊ะ และหลักของการเลี้ยงหอยแมลงภู่

            ไผ่ดำ หรือ ไผ่ตาดำ พบมากในป่าทึบ แถบจังหวัดกาญจนบุรี และจันทบุรี ต้นมีสีเขียวคล้ำเกือบเป็นสีดำ ไม่มีหนาม เส้นผ่าศูนย์กลางของปล้อง 7-10 เซนติเมตร และยาว 30-40 เซนติเมตร สูง 10-12 เมตร มีเนื้อหนา นิยมนำลำต้นไปใช้ทำนั่งร้านก่อสร้างและเครื่องจักสานต่างๆ หน่อใช้รับประทานได้

            ไผ่น้ำเต้า พบได้ทั่วไป เป็นไผ่ที่มีปล้องสั้น ลำมีสีเขียว อาจมีแถบสีเหลือตามปล้อง และจะโป่งออกตอนกลางปล้องและตอนกลางของกิ่ง ปล้องมีเส้นผ่าศูนย์ลาง 4-8 เซนติเมตร สูง 3-4 เมตร แขนงแตกออกจากต้นที่สูงจากระดับพื้นดินประมาณ 1.5 เมตร หน่อมีสีเหลือง ไผ่ชนิดนี้เชื่อว่านำเข้าจากประเทศจีน ไผ่น้ำเต้าส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในบริเวณบ้านหรือปลูกในกระถางไว้โชว์

          3. สกุลเซฟาลอสทาคียัม มี 2 ชนิด คือ ไผ่ข้าวหลาม ไผ่เฮียะ หรือไผ่เหียะ

            ไผ่ข้าวหลาม พบมากบริเวณตอนเหนือของจังหวัดกาญจนบุรีและภาคตะวันออกเฉียงเหนือบางส่วน มีปล้องยาว 30 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางของลำไผ่เฉลี่ย 5-7.5 เซนติเมตร ลำไผ่มีสีเขียวอมเทา มีความสูงเฉลี่ยระหว่าง 7-8 เมตร หน่อมีขนาดใหญ่ กาบน้ำสีหมากสุก ต้นไผ่นิยมนำมาทำกระบอกข้าวหลาม หน่อรับประทานได้แต่ไม่เป็นที่นิยม

            ไผ่เฮียะ หรือ ไผ่เหียะ ลำไผ่มีเส้นผ่าศูนย์ลาง 5-10 เซนติเมตร ปล้องยาว 50-70 เซนติเมตร ข้อเรียบ มีกิ่งเพียงเล็กน้อย เนื้อหนาประมาณ 1-2 เซนติเมตร มีความสูง 10-18 เมตร ลำต้นนำไปทำโครงสร้างบ้านเรือนและเครื่องจักสานต่างๆ หน่อรับประทานได้แต่ไม่เป็นที่นิยมกัน

            4. สกุลเดนโดรคาลัส ได้แก่ ไผ่ชาง หรือไผ่นวลหรือไผ่ปล้อง ไผ่หก หรือไผ่นวลใหญ่ ไผ่เป๊าะ หรือไผ่เปราะ ไผ่ตง



            ไผ่ซาง หรือ ไผ่นวล หรือ ไผ่ปล้อง พบในป่าดิบทั่วไป ลำต้นมีสีเขียวนวล ปล้องยาว 50-70 เซนติเมตร มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 3-12 เซนติเมตร ลำต้นสูง 8-10 เมตร ไม่มีหนาม หน่อมีสีน้ำตาลปนส้มและมีขนสีน้ำตาล ไผ่ชนิดนี้เนื้ออ่อนและเหนียว สามารถจักดอกเป็นเส้นเล็กๆได้ จึงนำยมนำมาใช้ทำเครื่องจักสานที่ต้องการรายละเอียดสูง หน่อรับประทานได้ ไผ่ซางหรือไผ่นวล พบมากที่ภาคเหนือ และภาคกลางของประเทศ ลำต้นใช้ทำนั่งร้านก่อสร้าง ทำเครื่องจักสาน และเยื่อกระดาษ หน่อใช้รับประทานได้

            ไผ่หก หรือ ไผ่นวลใหญ่ พบมากในภาคเหนือและจังหวัดกาญจนบุรี ไผ่ชนิดนี้ลำต้นมีสีเขียวอมเทา และมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 15-20 เซนติเมตร ปล้องมีความยาว 40-50 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-15 เมตร ลำผ่นำยมนำมาทำเผื่อกระดาษ และเครื่องจักสานต่างๆ หน่อใช้รับประทานได้แม้มีรสเข้มอยู่บ้าง

            ไผ่เป๊าะ หรือ ไผ่เปราะ พบที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ลำต้นมีสีเขียว มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 10-20 เซนติเมตร เนื้อแข็งเปราะ ข้อเรียบ ปล้องยาวประมาณ 30 เซนติเมตร ลำต้นสูงถึง 30 เมตร หน่อมีขนาดใกล้เคียงกับลำผ่และมีสีเหลืองอมขาว ไผ่ชนิดนี้นิยมนำมาทำกระบอกข้าวหลาม ไม่นิยมนำมาทำเครื่องจักสาน เนื่องจากมีเนื้อแข็งและเปราะ

            ไผ่ตง มีมากในจังหวัดปราจีนบุรี ไผ่ตงเป็นไผ่ขนาดใหญ่ ลำต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6-15 เซนติเมตร ปล้องยาว 20 เซนติเมตร ปล้องยาว 20 เซนติเมตร ไม่มีหนาม โคนต้นมีลายสีขาวสลับเทา ลำต้นมีขนสั้นๆขึ้นอยู่ หน่อมีน้ำหนักประมาณ 3-10 กิโลกรัม ไผ่ตงแบ่งออกเป็นไผ่ตงเขียว ไผ่ตงดำ ไผ่ตงหม้อ และไผ่ตงหนู เนื้อไม้นิยมนำมาใช้ทำเครื่องจักสานและไม้จิ้มฟัน หนอนิยมนำมาปรุงอาหารได้หลากชนิด

            5. สกุลไดโนเคลา ได้แก่ ไผ่ลาน หรือไผ่เลื้อย

            ไผ่ลาน หรือ ไผ่เลื้อย พบมากในภาคใต้ของประเทศ ลำต้นมีลักษณะคลายเถาวัลย์เลื้อยหรือพาดไปตามต้นไม้ที่อยู่ใกล้เคียง ลำต้นมีสีเขียว เส้นผ่าศูนย์กลางองต้นไผ่ประมาณ 1 เซนติเมตร เนื้อบาง ใบและลำต้นมีขนสีน้ำตาลเป็นจำนวนมาก ปล้องยาว 10 -20 เซนติเมตร ไผ่ชนิดนี้นิยมนำไปใช้เป็นส่วนประกอบสมุนไพรรักษาโรค

            6. สกุลจิกแอนโทเคลา ได้แก่ ไผ่มัน หรือไผ่เปาะ ไผ่ไร่ ไผ่ไล่ลอ ไผ่แนะ หรือไผ่คาย ไผ่ผาก ไผ่คายดำ ไผ่บงคาย

            ไผ่มัน หรือ ไผ่เปาะ พบมากในภาคใต้ของประเทศ ลำไผ่สีเขียวมัน ไม่มีหนาม เส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 8-10 เซนติเมตร ปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร ทรงกอโปร่ง ลำต้นสูง 10 -15 เมตร หน่อมีสีน้ำตาลแก มีน้ำหนักเฉลี่ย 3-4 กิโลกรัม ลำไผ่ใช้ทำส่วนประกอบโครง สร้างบ้านเรือนและเครื่องจักรสานต่างๆ หน่อใช้รับประทานได้

            ไผ่ไร่ พบได้ทุกภาคของประเทศ ลำต้นมีสีเขียวปนเทา ผิดสาก แต่ไม่มีหนาม มีขนทั่วลำต้น เป็นไผ่ขนาดเล็ก มีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นเพียง 1.5-2.5 เซนติเมตร ปล้องยาว 30 เซนติเมตร การแตกกอหนาแน่นมาก นิยมนำมาใช้ค้ำยัน หรือทำเสาหลักในการเกษตรบางชนิด

ไผ่ไล่ลอ ลำต้นสีเขียวอ่อน พบมากที่ภาคเหนือ ขณะแทงกิ่งผลิใบ ต้นไผ่กาบจะหลุดออกมาหมด มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น 3-8 เซนติเมตร และมีปล้องยาว 14-50 เซนติเมตร ลำไผ่นิยมนำมาทำรั้วบ้าน คอกสัตว์ และทำเครื่องเรือนได้ดี หน่อใช้รับประทานได้ แต่ไม่เป็นที่นิยมกัน

ไผ่แนะ หรือ ไผ่คาย พบมากในป่าดิบภาคใต้ มีลำต้นสีเขียว เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2-3 เซนติเมตร ปล้องยาว 30-35 เซนติเมตร มีความสูงเพียง 3-4 เมตร หน่อมีสีเหลือง ลำไผ่ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หน่อใช้รับประทานได้ ไผ่ตากวาง พบในป่าดิบภาคใต้ ผิวลำต้นเกลี้ยง สีเขียวอมเหลือง มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่ 4-6 เซนติเมตร ปล้องยาว 30-40 เซนติเมตร สูงประมาณ 5 เมตร ลำต้นใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ หน่อใช้รับประทานได้

ไผ่ผาก พบมากที่ภาคใต้และจังหวัดกาญจนบุรี มีลำต้นสีเขียว ไม่มีหนาม ไผ่ชนิดนี้เป็นไผ่ขนาดใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่ 10-13 เซนติเมตร มีหน่อขนาดใหญ่ มีน้ำหนัก 2-3 กิโลกรัม ลำไผ่ทำเข่งใส่ถ่านเพื่อจำหน่าย เครื่องใช้ในครัวและเยื่อกระดาษ หน่อมีรสขม ก่อนนำมาประกอบอาหารต้องต้มในน้ำร้อนและเททิ้ง 1-2 ครั้ง ก็ใช้ได้

ไผ่คายดำ พบที่จังหวัดกาญจนบุรีและระนอง ลำต้นมีสีเขียวเข้ม ปล้องห่าง ข้อใหญ่ ไม่มีหนาม เป็นไผ่ที่มีลำต้นสูงใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่ประมาณ 7-10 เซนติเมตร หน่อมีสีเขียว ไผ่ชนิดนี้ใช้ประโยชน์ได้น้อย ไม่เหมาะนำมาใช้ประโยชน์ เนื่องจากเนื้อไผ่เปราะหักง่าย หน่อมีรสขม จำไม่นิยมนำมาประกอบอาหาร

            ไผ่บงคาย พบมาที่จังหวังเชียงราย ลำต้นมีสีเขียวอ่อน ข้อปล้องมี 2 ชั้น ชั้นล่างเรียบ ส่วนชั้นบนมีปมราก ข้อต่อมีสีเขียวหม่น เส้นผ่านศูนย์กลางของลำไผ่ 5-8 เซนติเมตร และยาว 40-50 เซนติเมตร ลำต้นสูงประมาณ 10-13 เมตร ลำต้นใช้ทำเครื่องจักสานได้ดี หน่อไม้นิยมนำมาประกอบอาหารเนื่องจากมีรสชาติดี

7. สกุลมีโลแคนนา ไผ่สกุลนี้มีเพียงชนิดเดียวคือ ไผ่เกรียบ พบในป่าทึบทั่วไป เป็นไผ่มีลำต้นขนาดใหญ่ เส้นผ่านศูนย์กลาง 8-15 เซนติเมตร ปล้องยาว 50-120 เซนติเมตร เนื้อหนาเฉลี่ยครึ่งเซนติเมตร ข้อเรียบ แขนงเล็ก ต้นสูง 10-15 เมตร หน่อมีขนาดใหญ่ สีเขียวกาบสีเหลืองอมส้ม บริเวณข้อมีสีแดง ไผ่ชนิดนี้นำมาใช้ประโยชน์ได้น้อย ส่วนใหญ่ปลูกไว้ประดับสวน

8.สกุลนีโอฮูซัว พบเพียงชนิดเดียวคือ ไผ่หลอด พบที่จังหวัดตราด ลำต้นสีเขียวเป็นมัน ไผ่ชนิดนี้เป็นไผ่ขนาดมีขนาดเล็ก ปล้องยาว 10-15 เซนติเมตร มีความสูงเพียง 4 เมตร หน่อมีขนาดเล็ก สีเทาในอดีตนิยมนำมาทำหลอดด้าย แต่เนื่องจากมีการนำสารสังเคราะห์มาใช้ทดแทน ปัจจุบันจึงไม่มีการนำมาทำหลอดด้ายอีก

9. สกุลซูโดซาซา พบมาในจังหวัดเพชรบูรณ์ มีเพียงชนิดเดียว แต่ยังไม่มีการศึกษาในรายละเอียด

            10. สกุลไซโซสตาคียัม มี 3 ชนิด คือ ไผ่โป และไผ่เฮียะ พบมากที่จังหวัดนครศรีธรรมราช และจังหวัดตรง แต่ยังไม่มีการศึกษาในรายละเอียด

11.สกุลเทียโนสตาคียัม มี 2 ชนิด คือ ไผ่เฮียะเครือ และไผ่บงเลื้อย พบที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดใกล้เคียง ยังไม่มีการศึกษาในรายละเอียด

12. กสุลไธโซสตาซัส มี 2 ชนิด คือ ไผ่รวก พบมากที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นไผ่ที่มีลำต้นขนาดเล็ก มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-7 เซนติเมตร สูงประมาณ 5-10 เมตร แตกกอเป็นพุ่มแน่นพอประมาณ ลำต้นนิยมทำวัสดุก่อสร้าง ไม้ค้ำยันต้นไม้และใช้ทำเยื่อกระดาษ หน่อใช้รับประทานได้ ส่วนใหญ่เก็บถนอมด้วยวิธีทำหน่อไม้ปีบ และไผ่รวกดำ พบมากในภาคเหนือ ลำต้นมีสีเขียวเข้ม ผิวเรียบเป็นมัน มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 4-7 เซนติเมตร ปล้องยาว 23-30 เซนติเมตร ลำต้นสูง 10-15 เมตร เนื่องจากลำต้นมีเนื้อไม้แข็งแรง ทนทาน จึงนิยมนำมาทำโครงร่มกระดาษและพัด เครื่องประดับอื่นๆ และเฟอร์นิเจอร์ หน่อรับประทานได้ แต่ไม่นิยม

เคล็ดปฏิบัติ: ต้นไผ่นั้น เหมาะจะนำไปปลูกไว้บริเวณริมรั้วของบ้าน เพราะธรรมชาติของต้นไผ่นั้น จะแตกหน่อเจริญงอกงามอย่างรวดเร็ว จึงเหมะจะปลูกแถบบริเวณที่โล่งกว้างของบ้าน การปลูก ก็ควรจะปลูกต้นไผ่ไว้ทางทิศตะวันออกของบ้าน เพื่อให้ต้นไผ่ได้รับแสงแดดยามเช้าอย่างเต็มที่ และควรจะลงมือปลูกในวันเสาร์ เพราะคนโบราณเชื่อว่า การปลูกต้นไม้ที่ให้ประโยชน์ได้หลาย ๆ ทาง ก็ควรจะปลูกในวันเสาร์ จึงจะงอกงามดี และเสริมมงคลดียิ่ง ผู้ที่เหมาะจะลงมือปลูกต้นไผ่มากที่สุด คือ ผู้ที่เกิดในปีมะแม ซึ่งถ้าเป็นสมาชิกภายในบ้านก็จะเป็นการดี เพราะต้นไผ่นั้น เป็นต้นไม้ประจำปีมะแม ดังนั้น ความเป็นมงคลของต้นไผ่ก็จะเพิ่มมากขึ้น ถ้าไม่มีผู้ที่เกิดปีมะแม ก็ให้หัวหน้าครบครัวเป็นผู้ปลูกก็ถือว่าเป็นมงคลเช่นกัน

มะขาม



ชื่อพันธุ์ไม้ : มะขาม 
ชื่อสามัญ : Tamarind, Indian date 
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tamarindus indica Linn
วงศ์ : LEGUMINOSAE 
ชื่ออื่น : มะขามไทย ตะลูบ (นครราชสีมา), ม่องโคล้ง (กะเหรี่ยง-กาญจนบุรี), มอดเล ส่ามอเกล (กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน), มะขาม (ทั่วไป), หมากแกง (ละว้า-แม่ฮ่องสอน), อำเปียล (เขมร-สุรินทร์) 
ลักษณะทั่วไป : มะขามเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่แตกกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็นคู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายไบและโคนใบมน ดอก ออกเป็นช่อเล็กๆ ตามปลายกิ่ง หนึ่งช่อมี 10-15 ดอก ดอกย่อยขนาดเล็ก กลีบดอกสีเหลืองและมีจุดประสีแดงอยู่กลางดอก ผล เป็นฝักยาว รูปร่างยาวหรือโค้ง ยาว 3-20 ซม. ฝักอ่อนมีเปลือกสีเขียวอมเทา สีน้ำตาลเกรียม เนื้อในติดกับเปลือก เมื่อแก่ฝักเปลี่ยนเป็นเปลือกแข็งกรอบหักง่าย สีน้ำตาล เนื้อในกลายเป็นสีน้ำตาลหุ้มเมล็ด เนื้อมีรสเปรี้ยว และหวาน

การปลูก : มะขามขึ้นได้กับดินทุกชนิด เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนในดินเหนียวทนแล้งได้ดี เหมาะที่จะปลูกในฤดูฝน ใช้กิ่งพันธุ์ปลูกโดยการขุดหลุมและใส่ปุ๋ยที่ก้นหลุมก่อน ดูแลรักษาเหมือนกับพืชโดยทั่วไป  นิยมขยายพันธุ์โดยการทาบกิ่ง ติดตาหรือต่อกิ่ง เพราะได้ผลเร็วและไม่ทำให้กลายพันธุ์

สรรพคุณทางยา :
          ยาระบาย แก้อาการท้องผูก ใช้มะขามเปียกรสเปรี้ยว 10–20 ฝัก (หนัก 70–150 กรัม) จิ้มเกลือรับประทาน แล้วดื่มน้ำตามมากๆ หรือต้มน้ำใส่เกลือเล็กน้อยดื่มเป็นน้ำมะขาม 
ขับพยาธิไส้เดือน นำเอาเมล็ดแก่มาคั่ว แล้วกะเทาะเปลือกออก เอาเนื้อในเมล็ดไปแช่น้ำเกลือจนนุ่ม รับประทานครั้งละ 20-30 เม็ด 
          ขับเสมหะ ใช้เนื้อในฝักแก่หรือมะขามเปียกจิ้มเกลือรับประทานพอสมควร 
          คุณค่าทางโภชนาการ ยอดอ่อนและฝักอ่อนมีวิตามิน เอ มาก มะขามเปียกรสเปรี้ยว ทำให้ชุ่มคอ ลดความร้อนของร่างกายได้ดี เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัด เรียกว่า "มะขามเปียก" ประกอบด้วยกรดอินทรีย์หลายตัว เช่น กรดทาร์ททาร์ริค กรดซิตริค เป็นต้น ทำให้ออกฤทธิ์ ระบายและลดความร้อนของร่างกายลงได้ แพทย์ไทยเชื่อว่า รสเปรี้ยวนี้จะกัดเสมหะให้ละลายได้ด้วย

คติความเชื่อ : ตามตำราพรหมชาติฉบับหลวง ถือว่ามะขามเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ทางทิศตะวันตก (ประจิม) ของบ้าน เพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ผีร้ายมิให้มากล้ำกลาย อีกทั้งต้นมะขามยังเป็นต้นไม้ที่มีชื่อเป็นมงคลนาม ถือกันเป็นเคล็ดว่าจะทำให้มีแต่คนเกรงขาม

ขนุน


ขนุน (อังกฤษ: jackfruit, 
ชื่อวิทยาศาสตร์: Artocarpus heterophyllus หรือ A. heterophylla)
ภาคอีสานเรียกบักมี่ ภาคเหนือเรียกบ่าหนุน สิบสองปันนาเรียกหมากมี่ หรือ หมากหนุน
กาญจนบุรี เรียก กระนู ภาษาไทใหญ่เรียก ลาง

เป็นไม้ผลยืนต้นในวงศ์ Moraceae มีถิ่นกำเนิดในเอเชียใต้และแพร่หลายมายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และได้รับความนิยมมากในคาบสมุทรมลายู ไม่ปรากฏว่าเข้ามายังประเทศไทยเมื่อใด แต่มีกล่าวถึงในเอกสารโบราณตั้งแต่สมัยสุโขทัยและกรุงศรีอยุธยา ชื่อสามัญของขนุนในภาษาอังกฤษคือ jackfruit มาจากภาษาโปรตุเกส jaka ที่เพี้ยนมาจากภาษามาเลย์ chakka หรือภาษามาลายาลัม chakka (ചക്ക) ขนุนมีผลขนาดใหญ่ที่สุดในโลก นานๆครั้งถึงจะมีผลที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางน้อยกว่า 25 ซม.

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ขนุนเป็นไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ อยู่ในวงศ์เดียวกับสาเก สูง 15-30 เมตร ลำต้นและกิ่งเมื่อมีบาดแผลจะมีน้ำยางสีขาวข้นคล้ายน้ำนมไหล ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบรูปรี ขนาดกว้าง 5-8 เซนติเมตร ยาว 10-15 เซนติเมตร ปลายใบทู่ถึงแหลม โคนใบมน ผิวในด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน เนื้อใบหนา ดอกเป็นช่อแบบช่อเชิงลดแยกเพศอยู่รวมกัน เป็นช่อสีเขียว อัดกันแน่น แยกเพศ แต่อยู่บนต้นเดียวกัน ช่อดอกตัวผู้ออกตามปลายกิ่งหรือซอกใบ เป็นแท่งยาว ช่อดอกตัวเมียเป็นแท่งกลมยาว ออกตามลำต้นหรือกิ่งใหญ่ เมื่อติดผล ดอกทั้งช่อจะเจริญร่วมกันเป็นผลรวมมีขนาดใหญ่ โดย 1 ดอกกลายเป็น 1 ยวง ในผล ผลดิบเปลือกสีเขียว หนามทู่ ถ้ากรีดเปลือกจะมียางเหนียว เมื่อแก่ เปลือกสีน้ำตาลอ่อนอมเหลือง หนามจะป้านขึ้น ภายในผลมีซังขนุนหุ้มยวงสีเหลืองไว้ เมล็ดอยู่ในยวง 

พันธุ์ขนุนมีหลายพันธุ์ สีของเนื้อจะต่างไปตามพันธุ์ บางพันธุ์ซังมีรสหวานรับประทานได้ บางพันธุ์ซังรสจืดไม่ใช้รับประทาน พันธุ์ขนุนที่ปลูกในประเทศไทย ได้แก่
พันธุ์ตาบ๊วย เนื้อสีจำปาออกเหลือง ผลใหญ่ เนื้อหนา
พันธุ์ฟ้าถล่ม ผลขนาดใหญ่มาก ค่อนข้างกลม เนื้อสีเหลืองทอง
พันธุ์ทองสุดใจ ผลใหญ่ ยาว เนื้อสีเหลือง
พันธุ์จำปากรอบ ผลขนาดกลาง เนื้อสีจำปา หวานอมเปรี้ยว

การใช้ประโยชน์
ขนุนเป็นผลไม้ที่นิยมรับประทานในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อขนุนสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ และใช้ทำขนมได้หลายชนิด เช่น ใส่ในไอศกรีม ลอดช่องสิงคโปร์ รวมมิตร กินกับข้าวเหนียวมูน หรือนำไปอบแห้ง ใช้กินเป็นของว่าง ขนุนอ่อนนำมาปรุงอาหารใช้เป็นผัก เช่นใส่ในแกง ยำ ส้มตำเมล็ดนำมาต้มหรือต้ม รับประทานได้ แก่นไม้ใช้ย้อมสีจีวรของพระภิกษุ เนื้อไม้ใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี


มะยม


ชื่อพื้นเมือง :มะยม

ชื่อวิทยาศาสตร์ :Phyllanthus acidus(L.) Skeels.

ชื่อวงศ์ :EUPHORBIACEAE

ชื่อสามัญ :Star Gooseberr

ลักษณะทั่วไป:  เป็นไม้ยืนต้นขนาดย่อม  เปลือกไม้แข็ง  เป็นปุ่มปม  เนื้ออ่อน  ใบเดี่ยวรูปไข่  เรียงสลับกันบนกิ่งเล็กเรียว  ดอกเล็กๆสีชมพู  เป็นช่อเล็กๆ ผลกลมเป็นพูรอบ
ออกเป็นพวง  เมล็ดเดี่ยวกลมแข็ง  ต้นตัวผู้ไม่ติดผล  แพทย์นิยมใช้มะยมตัวผู้ทำยา  มีทั้งมะยมเปรี้ยวและมะยมหวาน  ปลูกได้ทั่วไปในเขตร้อน

การกระจายพันธุ์:  โดยการเพาะเมล็ด

ประโยชน์:
     - ใบมีรสจืดมัน  ปรุงเป็นยาดับพิษร้อน  ถอนพิษไข้  ต้มรวมกับต้นหมากผู้หมากเมีย
     - ใบมะยมใช้อาบแก้ผื่นคัน  พิษไข้หัว  หัด ฝีดาษ
     -  เลือกต้นมีรสจืด  ต้มดื่มแก้ไข้เพื่อโลหิต  ต้มอาบแก้เม็ด ผด ผื่น คัน
     - รากมีรสจืด  ปรุงเป็นยารับประทาน  แก้โรคผิวหนัง ผด  ผื่นคัน แก้น้ำเหลืองเสีย
     - ลูกมีรสเปรี้ยวสุขุม  กัดเสมหะ  แก้ไอ  บำรุงโลหิต  ระบายท้อง

วาสนา


ต้นวาสนาราชินีเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 4- 10 เมตร ลำต้นกลม ต้นตรง ไม่มีกิ่งก้าน ลำต้นเป็นข้อถี่ ผิวเปลือกลำต้นมีสีน้ำตาลใบเป็นใบเดี่ยวแตกออกจากลำต้นส่วนยอดเรียงซ้อนกันเวียนรอบลำต้นเป็นรูปวงกลมลักษณะใบเรียว ยาว ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเกลี้ยงเป็นมันสีเขียว ตัวใบโค้งงอ ขนาดใบกว้างประมาณ 3- 6 เซนติเมตร ยาวประมาณ 20-40 เซนติเมตรออกดอกเป็นช่อตรงส่วนยอดของลำต้นช่อดอกมีขนาดใหญ่เป็นรูปทรงกลมช่อดอกยาวดอกมีขนาดเล็กอยู่รวม กันเป็นกลุ่มดอกมีสีขาวหรือเหลืองอ่อน กลิ่นหอมฉุน

 ความเป็นมงคลคนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดที่ปลูกต้นวาสนาอธิษฐานไว้ประจำบ้าน จะทำให้เกิดความสุข สมหวังในชีวิต และเชื่อว่าบ้านใดที่ปลูกต้นวาสนาอธิษฐานจะทำให้มีโชควาสนา เนื่องจากเป็นไม้เสี่ยงทาย คือ ถ้าหากผู้ใดดูแลรักษารดน้ำพรวนดิน ใส่ปุ๋ยอย่างดี จนต้นวาสนาออกดอก จะช่วยให้คนในครอบครัวนั้นได้รับโชคลาภ เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้อาศัย ควรปลูกต้นวาสนาอธิษฐานไว้ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ผู้ปลูกควรปลูกในวันอังคาร เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาประโยชน์ทางใบ ให้ปลูกในวันอังคาร ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้นผู้ปลูกควรเป็นสภาพสตรี เพราะวาสนาอธิษฐานเป็นชื่อที่เหมาะสมกับสุภาพสตรี

การปลูก การปลูกมี 2 วิธี
1. การปลูกในแปลงปลูกเพื่อประดับบริเวณบ้านและสวน ขนาดหลุมปลูก 30 x 30 x 30 เซนติเมตร ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : ดินร่วน อัตรา 1 : 2 ผสมดินปลูก 

2. การปลูกในกระถางเพื่อประดับภายนอกอาคาร ควรใช้กระถางทรงสูงขนาด 10- 18 นิ้ว ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก : แกลบผุ :ดินร่วนอัตรา 1:1:1 ผสมดินปลูกควรเปลี่ยนกระถาง 12 ปี/ครั้งหรือแล้วแต่ความเหมาะสมของทรงพุ่มเพราะการขยายตัวของรากแน่นเกินไป และเพื่อเปลี่ยนดินปลูกใหม่ทดแทนดินเดิมที่เหสื่อมสภาพไป

การดูแลรักษา
แสง ต้องการแสงแดดอ่อนรำไร จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง 
น้ำ ต้องการปริมาณน้ำปานกลางจนถึงมาก ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง 
ดิน ชอบดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย มีความชื้นปานกลางจนถึงสูง 
ปุ๋ย ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 5-6 ครั้ง
การขยายพันธุ์ 
วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การปักชำ

โรค
ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร


อ้างอิงเนื้อหามาจาก: http://www.farmkaset.org/contents/?content=00731#

บทความที่ได้รับความนิยม