วันเสาร์ที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2557

ว่านหางจระเข้


ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aloe vera  (L.)  Burm.f.
ชื่อพ้อง : Aloe barbadensis  Mill
ชื่อสามัญ :  Star cactus, Aloe, Aloin, Jafferabad, Barbados
วงศ์ :  Asphodelaceae                                                   
ชื่ออื่น :  หางตะเข้ (ภาคกลาง) ว่านไฟไหม้ (ภาคเหนือ)

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ : ว่านหางจระเข้ เป็นไม้ล้มลุกอายุหลายปี สูง 0.5-1 เมตร ลำต้นเป็นข้อปล้องสั้น ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงเวียนรอบต้น ใบหนาและยาว โคนใบใหญ่ ส่วนปลายใบแหลม ขอบใบเป็นหนามแหลมห่างกัน แผ่นใบหนาสีเขียว มีจุดยาวสีเขียวอ่อน อวบน้ำ ข้างในเป็นวุ้นใสสีเขียวอ่อน ดอก ออกเป็นช่อกระจะที่ปลายยอด ก้านช่อดอกยาว ดอกสีแดงอมเหลือง โคมเชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 6 แฉก เรียงเป็น 2 ชั้น รูปแตร ผล เป็นผบแห้งรูปกระสวย

สรรพคุณ : ว่านหางจระเข้
ใบ - รสเย็น ตำผสมสุรา พอกฝี
ทั้งต้น - รสเย็น ดองสุราดื่มขับน้ำคาวปลา
ราก - รสขม รับประทานถ่ายโรคหนองใน แก้มุตกิด
ยางในใบ - เป็นยาระบาย
น้ำวุ้นจากใบ - ล้างด้วยน้ำสะอาด ฝานบางๆ รักษาแผลสดภายนอก น้ำร้อนลวก ไฟไหม้ ทำให้แผลเป็นจางลง ดับพิษร้อน ทาผิวป้องกันและรักษาอาการไหม้จากแสงแดด ทาผิวรักษาสิวฝ้า และขจัดรอยแผลเป็น
เนื้อวุ้น - เหน็บทวาร รักษาริดสีดวงทวาร
เหง้า - ต้มรับประทานแก้หนองใน โรคมุตกิด

สารสำคัญในว่านหางจระเข้ที่ออกฤทธิ์ เป็นสาร กลัยโคโปรตีน ชื่อ aloctin A ซึ่งมีฤทธิ์ลดการอักเสบ และเพิ่มหารเจริญทดแทนของเนื้อเยื่อบริเวณที่เป็นแผล แต่มีข้อเสีย คือ สลายตัวได้ง่าย เมื่อถูกความร้อน ไม่ควรทิ้งวุ้นสดไว้เกิน 24 ชั่วโมง
ส่วนที่ใช้ วุ้นจากใบ ช่วงเวลาที่เก็บเป็นยา เก็บในช่วงอายุ 1 ปี
รสและสรรพคุณยาไทยรสจืดเย็น โบราณใช้ทาปูนแดงปิดขมับแก้ปวดศีรษะ รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
วิธีใช้ใช้วุ้นรักษาแผลสด แผลเรื้อนัง แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลไหม้เกรียมจากแสงแดด และการฉายรังสี โดยเลือกวุ้น จากใบที่อยู่ส่วนล่างของต้น ปอกเปลือกสีเขียวออก ล้างยางสีเหลืองออกให้สะอาดด้วยน้ำต้มสุก หรือน้ำด่างทับทิม เพราะอาจจะระคายเคืองผิวหนัง และทำให้มีอาการแพ้ได้ ขูดเอาวุ้นใส หรือฝานเป็นแผ่นบาง มาพอกแผล แล้วใช้ผ้าพันแผลที่สะอาดพันทับ ให้ชุ่มอยู่ตลอดเวลาในชั่วโมงแรก ต่อจากนั้นทาวันละ 3-4 ครั้ง จนกว่าแผลจะหาย วุ้นว่านหางจระเข้ยังสามารถ ใช้รักษาฝีพุพอง ได้ด้วย เพราะช่วยลดการอักเสบ

ลิ้นมังกร


ชื่อวิทยาศาสตร์:  Sansevieria spp.
ชื่อวงศ์:  Dracaenaceae
ชื่อสามัญ:  Snake plant หรือ Mother-in-laws Tongue
ชื่อพื้นเมือง:  ว่านงาช้างว่านหางเสือ  (หอกสุระกาฬ), ลิ้นนาคราชคลีบปลาวาฬ

ลักษณะทั่วไป: ลิ้นมังกรเป็นพรรณไม้ ที่มีลำต้นเป็นหัว หรือเหง้าอยู่ในดิน ลักษณะลำต้นเป็นข้อ ๆ ใบเกิดจากหัวที่โผล่ออมาพ้นดินเป็นกอ ลักษณะใบยาวปลายแหลม แข็งเป็นมัน ขอบใบเรียบ โค้งงอเล็กน้อย ขอบใบมีสีเหลืองกลางใบสีเขียวอ่อน ประด้วยเส้นสีเขียวเข้ม ขนาดของใบกว้างปรมาณ 4-7 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-50 เซนติเมตร ก้านดอกประกอบด้วยกลุ่มดอกป็นชั้น ๆ ลักษณะดอกมีขนาดเล็ก ออเรียงกันเป็นแนวตามชั้นของก้านดอกดอกมีสีขาวมีกลีบประมาณ 5 กลีบ นาดดอกบานเต็มที่ 2 เซนติเมตร ลักษณะขนาดใบ และสีสรร จะแตกต่างกันไปตามชนิดพันธุ์

การขยายพันธุ์:  วิธีการแยกหน่อ วิธีการปักชำใบ วิธีการเพาะเมล็ด และวิธีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
การใช้ประโยชน์:
    -    ไม้ประดับ
    -    สมุนไพร

สรรพคุณทางยา:  ใบ ของลิ้นมังกรมีรสขม มีสรรพคุณแก้อาการเจ็บคอ บำรุงปอด แก้โรคติดเชื้อในบางระบบทางเดินหายใจส่วนบน ใบใช้ตำหรือขยี้แล้วนำไปทาหรือพอกบริเวณแผลที่อักเสบช่วยให้ทุเลาอาการลงได้
ความมงคล:  คนไทยโบราณเชื่อว่า บ้านใดปลูกต้นลิ้นมังกรไว้ประจำบ้านจะช่วยป้องกันภยันตรายจากสิ่งแวดล้อมภายนอกได้ เพราะลิ้นมังกรบางคนเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หอกพระอินทร์ ซึ่งเป็นอาวุธชนิดหนึ่งที่พระอินทร์ใช้ในการต่อสู้และปกป้องศัตรูจากภายนอก หลายคนจึงเชื่อว่าลิ้นมังกรเป็นไม้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์ เป็นไม้ที่มีความสำคัญของพระอินทร์ในสมัยพุทธกาล นอกจากนี้บางคนเชื่อว่าการปลูกลิ้นมังกรบริเวณรอบรั้วบ้านจะช่วยป้องกันไม่ให้งูหรือสัตว์เลื้อยคลานที่เป็นอันตรายเข้ามาได้เนื่องจากลิ้นมังกรเป็นไม้ประดับที่มีใบขึ้นเบียดกันหนาแน่น และบางสายพันธุ์มีขอบใบที่เรียบเป็นลักษณะที่สัตว์เลื้อยคลานบางประเภท รังเกียจ

การดูแลทั่วๆไป
แสง   ต้องการแสงแดดปานกลาง จนถึงแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ     ต้องการปริมาณน้ำปานกลาง ควรให้น้ำ 5-7 วัน/ครั้ง
ดิน     ดินร่วนซุย 
ปุ๋ย     ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 0.5-1 กิโลกรัม/กอ ใส่ปีละ 4-5 ครั้ง
โรคและแมลง   ไม่ค่อยพบโรคและแมลงที่ก่อให้เกิดปัญหา 

บทความที่ได้รับความนิยม