วันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

ลีลาวดี


ต้นลีลาวดี หรือ ลั่นทม เป็นไม้ดอกชนิดยืนต้นที่มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง เม็กซิโก แคริบเบียนและอเมริกาใต้ ในบ้านเรามีความเชื่อมาแต่โบราณว่ามีความเชื่อว่าไม่ควรปลูกต้นลั่นทมไว้ในบริเวณบ้าน เนื่องจากมีชื่ออัปมงคล เพราะไปพ้องกับคำว่า “ระทม” ซึ่งแปลว่า ความทุกข์ใจ เศร้าโศก นั่นเอง แต่ได้มีการเปลี่ยนมาเรียกชื่อใหม่แทนซึ่งก็คือ “ลีลาวดี” โดยเป็นชื่อพระราชทานจากสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีความหมายว่า “ดอกไม้ที่มีท่วงท่าสวยงามและอ่อนช้อย” และในปัจจุบันนี้ต้นลีลาวดีได้รับความนิยมและปลูกกันอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะในบ้านหรือนอกบ้านก็ตาม

ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Plumeria spp. สำหรับชื่อท้องถิ่นอื่นๆ ก็เช่น จำปา, จงป่า (กาญจนบุรี), จำปาลาว (ภาคเหนือ), จำปาขาว (ภาคอีสาน), จำปาขอม (ภาคใต้), ไม้จีน (ยะลา), มอยอ (นราธิวาส), จำไป (เขมร) เป็นต้น โดยเป็นต้นไม้ที่นิยมปลูกกันอย่างแพร่หลายเพราะออกดอกตลอดปี เลี้ยงดูง่าย และสีของดอกลีลาวดีนั้นยังมีสีสันสดใส สวยงาม ไม่ว่าจะเป็น ขาว เหลืองอ่อน ชมพู แดง ฯลฯ ซึ่งบางดอกอาจจะมีมากกว่า 1 สีก็ได้ และดอกลั่นทมยังเป็นดอกไม้ประจำชาติของประเทศลาวอีกด้วยครับ
ประวัติดอกลีลาวดี เดิมทีแล้วต้นลั่นทมเป็นไม้ที่นำเข้ามาจากเขมร ซึ่งมีชื่อเดิมว่า “ต้นขอม” เล่ากันว่ามีการนำเข้ามาปลูกในไทย เมื่อครั้งไปตีนครธมจนได้รับชัยชนะ แล้วได้มีการนำต้นไม้ชนิดนี้เข้ามาปลูก และเรียกชื่อเป็นที่ระลึกว่า “ลั่นธม” โดยคำว่าลั่นนั้นแปลว่า ตีฆ้อง ลั่นฆ้อง ลั่นกลอง ส่วนคำว่าธมนั้นมากจากคำว่า “นครธม” จึงเป็นที่มาของชื่อลั่นธม และเพี้ยนกลายมาเป็น “ลั่นทม” ในปัจจุบัน โดยมีผู้รู้ด้านภาษาไทยได้กล่าวถึงความหมายของลั่นทมไว้ โดยมีความหมายว่า “การละแล้วซึ่งความทุกข์ความโศกเศร้าและมีความสุข” เพราะคำว่าลั่นนั้นมีหมายว่า แตกหัก ละทิ้ง ส่วนคำว่าทมก็หมายถึงความทุกข์โศก !
แต่เนื่องจากทุกส่วนของต้นลีลาวดีจะมียางสีขาวขุ่นซึ่งเป็นพิษ โดยสารที่เป็นพิษคือกรด Plumeric Acid ถ้าหากสัมผัสยางจะทำให้เกิดผื่นคันตามผิวหนัง ผิวหนังอักเสบบวมแดง และต้นลีลาวดีนี้กิ่งยังเปราะและหักง่ายอีกด้วย จึงไม่เหมาะที่จะปลูกไว้ในบ้านที่มีเด็กซุกซนอยู่เท่าไหร่นัก
ประโยชน์ของต้นลีลาวดี

สรรพคุณ ของดอกลีลาวดีประโยชน์ของดอกลีลาวดีใช้ผสมกับพลู ทำเป็นยาแก้ไข้ และไข้มาลาเรีย (ดอกลีลาวดี,เปลือกต้น)
ช่วยรักษาไข้หวัด (ราก)
ใช้ปรุงเป็นยาแก้ไอ (เนื้อไม้)
ช่วยถ่ายเสมหะและโลหิต (ยางและแก่น)
ช่วยขับเหงื่อ แก้ร้อนใน (ราก)
ช่วยรักษาโรคหืดหอบ ด้วยการใช้ใบลีลาวดีแห้งนำมาชงกับน้ำร้อนดื่ม (ใบแห้ง)
ยางจากต้นลีลาวดีใช้ผสมกับไม้จันทร์และการบูรทำเป็นยาแก้อาการปวดฟัน (ยางจากต้น)
ใช้ปรุงเป็นยาถ่ายพิษทั้งปวง (ยางและแก่น)
ยางจากต้นลีลาวดีใช้ผสมกับไม้จันทร์และการบูรทำเป็นยาแก้คัน (ยางจากต้น)
ดอกลีลาวดีประโยชน์ดอกลีลาวดี ใช้ทำเป็นธูป (ดอก)
กลิ่นของดอกลีลาวดีช่วยทำให้นอนหลับสบาย
มีความเชื่อว่ากลิ่นของดอกลีลาวดีจะช่วยลดความรู้สึกทางเพศ เหมาะสำหรับนักบวชและผู้ฝึกตน ที่ไม่ต้องการให้กามารมณ์มากวนใจ

ต้นคูน


ลักษณะของต้นคูน
คูนเป็นไม้ยืนต้นมีขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ใบรูปไข่ปลายแหลม
ดอกเป็นช่อระย้าสีเหลืองและมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ฝักกลมยาวเวลาฝักอ่อนจะมีสีเขียวใบไม้ แก่จัดจะเป็นสีน้ำตาลเข้ม ส่วนที่ใช้เป็นยา  เนื้อในฝักแก่
ช่วงเวลาที่เก็บ เก็บในช่วงฝักแก่ เปลือกเป็นสีน้ำตาลเข้ม

การปลูก ในช่วงแรกๆต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตได้ช้าในระยะเวลาประมาณ 1-3 ปีแรก หลังจากนั้นต้นราชพฤกษ์จะเจริญเติบโตเร็วขึ้น เปลือกจะเป็นสีน้ำตาลเรียบ มีรากแก้วยาวสีเหลือง และ มีรากแขนงเป็นจำนวนมาก เมื่อต้นราพฤกษ์มีอายุ 4-5 ปี จึงออกดอกและเมล็ด

การดูแลรักษา แสง ต้นราชพฤกษ์ต้องการแสงแดดจัด หรือกลางแจ้ง
น้ำ ต้นราชพฤกษ์ต้องการปริมาณน้ำน้อย ควรให้น้ำ 7-10 วัน/ครั้ง อายุประมาณ 4 ปี สามารถทนต่อสภาพธรรมชาติได้
ดิน ต้นราชพฤกษ์เจริญเติบโตได้ดีดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว
ปุ๋ย ต้นราชพฤกษ์นิยมใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักในการบำรุงรักษา อัตรา 2-3 กิโลกรัม/ต้น ควรใส่ปีละ 3-4 ครั้ง

การขยายพันธุ์ ต้นราชพฤกษ์นิยมขยายพันธุ์ด้วยการตอนกิ่ง การเพาะเมล็ด วิธีที่นิยมและได้ผลดี คือ การเพาะเมล็ด
โรค ต้นราชพฤกษ์ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องโรค เพราะเป็นไม้ที่ทนทานต่อสภาพธรรมชาติพอสมควร
ศัตรู ต้นราชพฤกษ์มีศัตรูหนอนเจาะลำต้น (Stem boring caterpillars) จะมีอาการ ลำต้นหรือยอดเป็นรู เป็นรอยเจาะทำให้กิ่งหักงอ
การป้องกัน ต้นราชพฤกษ์ควรปลูกโดยรักษาความสะอาดบริเวณแปลงปลูก หรือกำจัดแมลงพาหะ ใช้ยาเช่นเดียวกับการกำจัด
การกำจัด ต้นราชพฤกษ์นิยมใช้ยาไดเมทโธเอท หรือ เมโธมิล อัตราและคำแนะนำระบุไว้ตามฉลาก

สรรพคุณของ ต้นคูน 
รสหวานเอียนเล็กน้อย สรรพคุณเป็นยาระบาย ไม่ปวดมวนในช่องท้อง
เนื้อในฝักคูนมีสารประเภท Anthraquinones หลายตัว เช่น Aloin, Rhein,SennosideA, B และยังมี Organic acid สารAnthraquinoneทำให้เนื้อฝักคูนมีฤทธิ์เป็นยาระบายได้โดยมีฤทธิ์ไปกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้เหมาะสำหรับผู้ที่ท้องผูกเป็นประจำใช้เนื้อในฝักคูนแล้ว
ไม่จำเป็นต้องไปรับประทานยาถ่ายอีกเพราะเนื้อฝักคูนเป็นพืชสมุนไพรที่ช่วย
ในเรื่องนี้ได้ดีมาก วิธีใช้  เนื้อในฝักคูน แก้อาการท้องผูกได้เป็นอย่างดีโดยการนำเอาเนื้อฝักคูนที่แก่แล้วเอามาสักก้อนหนึ่งขนาดนิ้วหัวแม่มือหรือขนาดประมาณ 4 กรัมเอามาต้มกับน้ำ ใส่เกลือเข้าไปเล็กน้อยดื่มต้นเช้าก่อนอาหาร สำหรับสตรีมีครรภ์สามารถเอาพืชสมุนไพรนี้มาใช้ได้โดยไม่เป็นอันตรายใดๆเลย

บทความที่ได้รับความนิยม